ปวดหัวไมเกรน ควรรักษาแบบไหนดี

ปวดหัวไมเกรน ควรรักษาแบบไหนดี

ปวดหัวไมเกรน ควรรักษาแบบไหนดี อาการปวดหัว เป็นเรื่องน่าปวดหัวของใครหลาย ๆ คน เนื่องจากเป็นอาการที่เกิด ได้จากหลายสาเหตุ แถมยิ่งค้นหา google หาคำตอบ ยิ่งเจอแต่คำตอบที่ชวนเครียดกันเข้าไปอีก บทความนี้มีความตั้งใจ ที่จะให้ข้อมูลด้านต่างๆ WBET69 พร้อมทั้งแนวทางการรักษาอาการ ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine headache)

ไมเกรน เกิดจากอะไร?

“ไมเกรน (Migraine)” เกิดจากความผิดปกติชั่วคราว ของระดับสารเคมีในสมอง ทำให้ก้านสมองถูกกระตุ้น หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบ และคลายตัวมากกว่าปกติ เกิดอาการปวดหัวตุ๊บ ๆ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แพ้แสง จากก้านสมองที่ถูกกระตุ้น

อาการไมเกรน เป็นอย่างไร

ปวดหัวไมเกรนมักมีอาการเหล่านี้

  • ปวดหัวตุ๊บ ๆ บริเวณขมับ อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตา หรือท้ายทอย และปวดหัวข้างเดียว (บางรายอาจพบว่าปวดหัวทั้งสองข้าง)
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • มีอาการแพ้แสงแพ้เสียง
  • ปวดหัวเป็นครั้งคราว บางครั้งก็สัมพันธ์กับรอบเดือน

บางครั้งมีอาการมองเห็นผิดปกตินำ หรือที่เรียกว่า อาการออร่า (migraine aura) ผู้ป่วยจะเห็นเป็นแสงไฟสีขาว ๆ มีขอบหยึกหยัก เป็นอาการเตือนนำมาก่อน ที่จะเริ่มมีอาการปวดหัว

ปวดหัวไมเกรน ไม่จำเป็นต้องปวดหัวแค่ข้างเดียว

มีความเป็นไปได้สูง ว่าอาการปวดหัวข้างเดียว มักเป็นสาเหตุมาจากไมเกรน แต่ก็มีความเข้าใจผิดกันมากว่า ปวดหัวไมเกรน เท่ากับ “ปวดหัวข้างเดียว” เท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว ผู้ป่วยไมเกรนสามารถปวดหัวได้ทั้งสองข้าง หรือปวดหัวข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วค่อยย้ายสลับข้างได้เช่นกัน

ดังนั้น หากมีอาการปวดหัวทั้งสองข้าง จึงไม่ควรนิ่งนอนใจว่าตัวเองไม่ได้ เป็นไมเกรนแน่นอน ควรพิจารณาจากอาการอื่น ๆ ประกอบด้วย และถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์

ปวดหัวไมเกรน ไม่จำเป็นต้องมีอาการรุนแรง

ร่างกาย และจิตใจ ของแต่ละคนสามารถทนรับกับ ความเจ็บปวดได้แตกต่างกัน นอกจากนี้อาการปวดหัวไมเกรนยังมี ความรุนแรงหลายระดับ คนที่มีอาการนี้ จึงไม่จำเป็นว่าต้องปวดหัวจนกระทั่งทนไม่ไหวเสมอไป

แม้ว่าจะมีอาการไม่รุนแรง แต่หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นถี่ หรือมีระยะเวลายาวนาน หรือเกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน (ตามลิสต์อาการข้างต้น) ก็ควรเข้าพบแพทย์

ปวดหัว อาการที่เกิดขึ้นบ่อยกับคนวัยทำงาน จนแทบจะเป็นกิจวัตรไปแล้ว ปวดหัวเมื่อใดหลายๆ คนก็มักจะคว้าหายาแก้ปวดมารับประทานตลอด ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีอย่างแน่นอน เราไม่ควรรับประยาแก้ปวดพร่ำเพื่อ ควรหยุดพฤติกรรมรับประทานยาแก้ปวดบ่อยๆ ได้แล้ว เพราะนอกจากจะทำให้ตับพังไม่รู้ตัว ยังเป็นการแก้ที่ปลายเหตุอีกด้วย

เช็คลิสท์เบื้องต้นก่อนว่าปวดศีรษะนั้นไม่ใช่โรคร้ายแรง
1. ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
2. ตาไม่พร่ามัว มองไม่เบลอ
3. ไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรง
4. อาการปวดหัวแต่ละครั้ง ไม่ได้รุนแรงขึ้นกว่าเดิม
 ปวดหัวไมเกรน ควรรักษาแบบไหนดี ถ้าเช็คตัวเองเบื้องต้นแล้วมั่นใจว่า สาเหตุอาการปวดหัวนั้น ไม่ใช่อาการของโรคทางหลอดเลือดสมอง หรือเนื้องอกสมอง แต่เป็นเพียงปวดศีรษะจากความเครียด ออฟฟิศซินโดรม หรือพักผ่อนไม่เพียงพอทั่วๆ ไป ควรหยุดความคิด ที่จะกินยาแก้ปวดพร่ำเพรื่อ แล้วหันมาลองแก้อาการปวดหัวด้วยตัวเองก่อน
1. นวดกดจุด และยืดกล้ามเนื้อ ถ้าอาการปวดหัวที่เป็น มีอาการตึงของกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ร่วมด้วย ก็เป็นได้ว่าอาการปวดศีรษะ นั้นเกิดจากการทำงาน หนักของกล้ามเนื้อคอ และบ่า ให้ลองนวดกดตรงกล้ามเนื้อบริเวณที่เรียกว่า Trapezius คือช่วงบ่า และ ไหล่ นวดกดไว้จนกล้ามเนื้อมัดที่จับเป็นก้อนเริ่มคลายตัว หลังจากนั้นให้ยืดกล้ามเนื้อคอ โดยใช้มือขวาดึงศีรษะเอียงไปด้านขวาค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับข้าง อาการปวดหัวจะผ่อนคลายลง

2. เติมน้ำให้ร่างกาย คนที่ปวดศีรษะเป็นประจำ ควรสังเกตตัวเองว่า เป็นคนไม่ค่อยดื่มน้ำ หรือเปล่า การที่ร่างกายขาดน้ำ คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดศีรษะ ให้ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น หรือเมื่อมีอาการปวดหัว จะดื่มเป็นน้ำมะนาวใส่น้ำผึ้งนิดหน่อย หรือน้ำขิงอุ่นๆ หรืออาจจะเป็นชาเปปเปอร์มิ้นท์ ที่มีกลิ่นที่ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะลงได้
3. ออกกำลังกาย การขยับร่างกาย แม้เพียงเล็กน้อย จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง และยังทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน ที่เป็นสารบรรเทาอาการปวดตามธรรมชาติในร่างกาย เมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการปวดหัวแบบเดิมๆ ลองวิ่งเหยาะๆ หรือออกกำลังกายด้วยท่าง่ายๆ อยู่กับที่สัก 15 นาที รับรองว่าอาการปวดหัวจะดีขึ้น
4. ดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหย น้ำมันหอมระเหย หรือ นั้นมีหลากหลายกลิ่นที่เกิดจากการผสม และกลั่นจากพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่แต่ละกลิ่นก็มีคุณสมบัติ ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการอักเสบ หรือช่วยระบบย่อยอาหารแตกต่างกันไป ลองเลือกน้ำมันเปปเปอร์มิ้นต์ หรือลาเวนเดอร์ ที่มีคุณสมบัติช่วยลดอาการปวดหัว ความเครียด หรือไมเกรนได้โดยตรง…socialvarietyz

Categories:

Tags:


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *